การคมนาคม การสื่อสาร และการท่องเที่ยวของประเทศไทย


การคมนาคม

รถสามล้อหรือรถตุ๊กตุ๊ก รูปแบบการคมนาคมที่พบเห็นได้ทั่วไป
การคมนาคมส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะใช้การขนส่งทางบกเป็นหลัก คือ อาศัยรถยนต์และจักรยานยนต์ ทางหลวงสายหลักในประเทศไทย ได้แก่ ถนนพหลโยธิน ถนนมิตรภาพ ถนนสุขุมวิท และถนนเพชรเกษม นอกจากนี้ระบบขนส่งมวลชนจะมีการบริการตามเมืองใหญ่ต่าง ๆ ได้แก่ระบบรถเมล์ และรถไฟ รวมถึงระบบที่เริ่มมีการใช้งานรถไฟลอยฟ้า และรถไฟใต้ดิน และในหลายพื้นที่จะมีการบริการรถสองแถว รวมถึงรถรับจ้างต่าง ๆ ได้แก่ แท็กซี่ เมลเครื่อง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง และรถตุ๊กตุ๊ก ในอดีตประเทศไทยเคยมีการคมนาคมโดยใช้รถรางที่มีลักษณะคล้ายรถไฟ
สำหรับการคมนาคมทางอากาศนั้น ปัจจุบันประเทศไทยได้เปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งถือได้ว่าเป็นท่าอากาศยานขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยเปิดอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549[70] เพื่อใช้แทนที่ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ส่วนการคมนาคมทางน้ำ โดยอาศัยเรือเป็นหลัก ประเทศไทยมีท่าเรือหลัก ๆ คือ ท่าเรือกรุงเทพ คลองเตย และท่าเรือแหลมฉบัง

การสื่อสาร

ภาพการส่งจดหมายโดยบุรุษไปรษณีย์ในสมัยรัชกาลที่ 5
การสื่อสารในประเทศไทยเดิมใช้จดหมาย โดยไปรษณีย์ไทยเป็นผู้รับส่งจดหมาย แต่การเขียนจดหมายที่ล่าช้าจึงได้มีการนำโทรเลขมาใช้ในประเทศไทย โดยกรมไปรษณีย์โทรเลขและเลิกใช้ไปแล้วในปัจจุบัน โดยมีโทรศัพท์และโทรสารเป็นเครื่องสื่อสารที่สะดวกรวดเร็วที่สุดและราคาประหยัด อย่างไรก็ตามยังมีอินเทอร์เน็ตใช้เป็นเครื่องสื่อสารอยู่กันไม่น้อย

การท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวทำรายได้ให้กับประเทศเป็นสัดส่วนสูงเมื่อเทียบกับสัดส่วนของหลายๆ ประเทศในทวีปเอเชีย (ราว 6% ของจีดีพี) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางมายังประเทศไทยด้วยเหตุผลหลายประการ ส่วนใหญ่มาท่องเที่ยวตามชายหาดและพักผ่อน ถึงแม้ว่าจะมีความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ตาม [71] โดยแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน และจังหวัดเชียงใหม่[14][72]
ในปี พ.ศ. 2553 มีนักท่องเที่ยวรวม 15.94 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 12.63 โดยมากกว่า 1 ใน 4 เป็นนักท่องเที่ยวจากอาเซียน[73]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น