เศรษฐกิจของประเทศไทย


เศรษฐกิจ

ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ
อัตราการว่างงาน0.6% (2555 ประมาณ)[8]
การเติบโตของจีดีพี5.5% (2555 ประมาณ)[8]
ภาวะเงินเฟ้อ CPI-0.9% (2553)[8]
หนี้สาธารณะ4.27 ล้านล้านบาท (พ.ค. 2554)[57]
ความยากจน7.75% (2553 ประมาณ)[8]
กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงและศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศ
ประเทศไทยมีเศรษฐกิจแบบผสม มีรายได้หลักจากอุตสาหกรรม การส่งออกสินค้าและบริการ การท่องเที่ยว การบริการ เกษตรกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับที่ 24 ของโลก และมีมูลค่าการนำเข้าเป็นอันดับที่ 23 ของโลก ตลาดนำเข้าสินค้าไทยที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ซาอุดิอาระเบีย และอินโดนีเซีย[58] ข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ประเทศไทยส่งออกสินค้ากว่า 406,990 ล้านบาท โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักร 141,401 ล้านบาท อาหาร 52,332 ล้านบาท สินค้าอุคสาหกรรม 45,959 ล้านบาท และมีมูลค่าการนำเข้าราว 285,965 ล้านบาท โดยสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักร 113,421 ล้านบาท น้ำมันและเชื้อเพลิง 50,824 ล้านบาท และเคมีภัณฑ์ 46,376 ล้านบาท มีมูลค่าการค้าสุทธิ 121,025 ล้านบาท[59]

อย่างไรก็ตาม แรงงานส่วนใหญ่ของไทยอยู่ในภาคเกษตรกรรม[60] โดยมีข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญที่สุดของประเทศ[61] และถือได้ว่าเป็นประเทศซึ่งส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก[62] ด้วยสัดส่วนการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 36 ของโลก[63] ประเทศไทยมีพื้นที่ซึ่งเหมาะต่อการเพาะปลูกกว่า 27.25%[64] ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 55% ใช้สำหรับการปลูกข้าว[65] ส่วนพืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ ได้แก่ ยางพารา ผักและผลไม้ต่าง ๆ รวมไปถึงมีการเพาะเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น วัว สุกร เป็ด ไก่ สัตว์น้ำทั้งปลาน้ำจืด ปลาน้ำเค็มในกระชัง การทำนากุ้ง การเลี้ยงหอย รวมไปถึงการประมงทางทะเล เนื่องจากประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ด้านพืชพรรณธัญญาหารตลอดปี จึงได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก และเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลกเป็นอันดับที่ 5[66]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น